ยาใช้ภายนอก หรือ ยาภายนอก (External use drug ย่อว่า ED หรือ E-D) คือ ยาที่ใช้เพื่อหวังผลในการรักษาเฉพาะที่ โดยทั่วไปไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดการดูดซึมผ่านเข้ากระแสเลือด แต่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา (ยาน้ำ ครีม ขี้ผึ้ง) ยาหยอด ยาดม ยาชำระล้างบาดแผล ฯลฯ ตัวอย่างยาใช้ภายนอก เช่น ยาทารักษาโรคผิวหนัง ยาผงโรยแผล ยาหยอดหู จมูก หรือตา ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ผิวหนังสามารถดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือดได้เช่นกันถึงแม้จะในปริมาณน้อยกว่ายารับประทาน ดังนั้น การใช้ ‘ยาใช้ภายนอก’ บ่อยๆ ควรคำนึงถึงอันตรายอันเกิดการการสะสมเข้าสู่ภายในร่างกายด้วย และการใช้ยาทา ควรทาบางๆเท่านั้น นอกจาก ฉลากยา หรือ เอกสารกำ กับยา หรือ แพทย์ผู้ให้การรักษา จะระบุเป็นอย่างอื่น
สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้ ‘ยาใช้ภายนอก’ คือ การพลั้งเผลอรับประทานยาที่ใช้ภายนอกนั้น ซึ่งมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากไม่สังเกตฉลากยาข้างภาชนะที่บรรจุว่า ยาภายนอก ห้ามรับประทาน
ยาที่ใช้ภายนอก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม/หมวด ได้แก่ หมวดยาใช้ภายนอกที่เป็นยาอันตราย และ หมวดยาใช้ภายนอกที่ไม่เป็นยาอันตราย
ยาใช้ภายนอกที่เป็นยาอันตราย
ยาใช้ภายนอกที่เป็นยาอันตราย (External Use - Dangerous Drug) นั้น ร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ขายยาประเภทนี้ ต้องทำบัญชียาอันตรายแต่ละชนิดยา โดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวันเดือนปีที่ขาย และมีเภสัชกรให้คำแนะนำตามสมควรเกี่ยว กับการใช้ยาอันตรายให้ปลอดภัยตามหลักวิชาและตามมารยาทแห่งวิชาชีพ
ที่กล่องบรรจุยา จะต้องมีคำว่า ‘ยาอันตราย’ ด้วยตัวอักษร ‘สีแดง’ และที่ฉลากยาด้วย นอก จากนี้จะต้องมีคำว่า ‘ยาใช้ภายนอก’ หรือ ‘ยาใช้เฉพาะที่’ หากยานั้นเข้าข่ายยาใช้ภายนอกหรือยาใช้เฉพาะที่
ยากลุ่มนี้ ‘ไม่สามารถ’ โฆษณาแสดงสรรพคุณโดยตรงต่อประชาชนทั่วไปได้ เช่น การโฆษณา ทางโทรทัศน์ วิทยุ สื่ออินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ
ข้อบ่งใช้และข้อควรระวังสำหรับยาใช้ภายนอกที่เป็นยาอันตรายได้แก่
สรุป: ยาใช้ภายนอกที่เป็นยาอันตราย มีข้อควรระวังและข้อห้ามการใช้เช่นเดียวกับตัวยา (อันตราย)นั้นๆที่เป็นยารูปแบบอื่น เช่น ยารับประทาน ยาฉีด
ยาใช้ภายนอกที่ไม่เป็นยาอันตราย
ยาใช้ภายนอกที่ไม่เป็นยาอันตราย (External Use - Non dangerous Drug) ได้แก่ ยาทั่วไปชนิดสำหรับใช้ภายนอก ที่ไม่ได้อยู่ในยากลุ่ม/หมวด วัตถุออกฤทธิ์, ยาเสพติด, ยาควบคุมพิเศษ, หรือ ยาอันตราย โดยมี เภสัชกร, ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์), ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาทันตกรรม, การผดุงครรภ์, หรือการพยาบาล เป็นผู้ควบคุมการขายยาให้ปลอดภัยตามหลักวิชาและตามมารยาทแห่งวิชาชีพ
ยาใช้ภายนอกที่ไม่เป็นยาอันตรายสามารถโฆษณาแสดงสรรพคุณยาโดยตรงต่อประชาชนทั่วไปได้ เช่น การโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ สื่ออินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ
ข้อบ่งใช้ของยากลุ่ม ยาใช้ภายนอกที่ไม่เป็นยาอันตราย ได้แก่
สรุป: ข้อควรระวัง/ข้อห้ามการใช้ยากลุ่ม ยาใช้ภายนอกที่ไม่ใช่ยาอันตรายนี้ ยังต้องใช้ตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา แม้ว่ายาในกลุ่มนี้จะมีความปลอดภัยมากกว่ายาในกลุ่มที่เป็นยาใช้ภายนอกที่เป็นยาอันตราย
ตัวอย่างยาที่ใช้ภายนอกรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างยาที่ใช้ภายนอกรูปแบบต่างๆได้แก่
1. ครีม (Cream) เป็นยาที่มีตัวยาแทรกอยู่ในส่วนประกอบของน้ำกับน้ำมัน ครีมจะซึมผ่านผิวหนังได้ง่ายและเร็ว และล้างออกได้ง่าย เช่น ครีมทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย
2. ออยท์เม้นท์/ขี้ผึ้ง (Ointment) เป็นยาที่มีตัวยาแทรกอยู่ในส่วนประกอบของน้ำกับน้ำมันเช่นกัน แต่มีสัดส่วนของน้ำมันมากกว่า การดูดซึมผ่านผิวหนังช้ากว่าครีม ดังนั้น ตัวยาจะคงอยู่บนผิวหนังได้นานกว่า ขณะเดียวกันล้างออกได้ยากกว่าครีม เช่น ยาหม่อง
3. ทิงเจอร์ (Tincture) เป็นยาทาที่มีตัวยาละลายในแอลกอฮอล์ประมาณ 60% ขึ้นไป เช่น ทิง เจอร์ไอโอดีน
4. ยาหยอด (Drop) ได้แก่ ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาประเภทนี้ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อโรค ดังนั้นเมื่อเปิดใช้แล้วจะเก็บรักษาได้ไม่เกิน 1 เดือน
หมายเหตุ:
5. ยาเหน็บ/ยาสอด (Suppository) มีทั้งยาเหน็บช่องคลอดและยาเหน็บทวารหนัก มีรูปร่างเป็นเม็ดยาวรี อาจกลมหรือแบนก็ได้ เมื่อเหน็บแล้วให้ทิ้งยาค้างไว้ไม่ต้องดึงยาออกมา
6. ยาสวนทวาร (Enema) เป็นยาน้ำบรรจุในภาชนะพลาสติก มีท่อสำหรับสอดเข้าช่องทวารหนัก ก่อนใช้ต้องเจาะรูตรงปลายท่อก่อน รูปแบบนี้มักใช้กับยาระบายเวลาท้องผูก
7. ยาพ่น (Spray) มีลักษณะเป็นกระบอก มีส่วนที่ใช้กดตรงด้านบน เพื่อให้ยาข้างในพ่นออกมาเป็นฝอย เมื่อต้องการใช้จะต้องศึกษาวิธีใช้ในฉลากกำกับอย่างละเอียด รวมกับคำแนะนำจาก แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เช่น ยาพ่นขยายหลอดลมแก้โรคหืด
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://s3.amazonaws.com/